E- Environment

Business Environment
นักปราชญ์ชาวจีนนาม ซุนวู ได้กล่าวไว้ในตำราพิชัยฃสงครามว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” คำกล่าวนี้จึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการกำหนดแผนกลยุทธ์เพื่อการจัดการธูรกิจ การที่จะ “ รู้เขา ” ได้นั้นจะต้องศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกเสียก่อน ส่วนการ “รู้เรา” ก็คือ การศึกษาสภาพแวดล้อมภายในเป็นลำดับถัดมานั่นเอง การแข่งขันกันในเชิงธุรกิจผู้ที่จะชนะและสามารถครอบครองตลาดได้นั้นจึงจำ เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจทั้งภายนอกและภายในก่อนการลง
สนาม
Business Environment
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่
1. สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ Internal Environment คือ สภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกำหนด และ ควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน
2. สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ External Environment คือ ภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึง ปัจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด คือ สร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย
สิ่งแวดล้อมจุลภาค
และสิ่งแวดล้อมมหภาค
สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค (Micro External Environment) คือ ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถ ควบคุมได้ แต่สามารถเลือก ที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความ
เหมาะสม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
1. ตลาด หรือลูกค้า (Market)
2. ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ (Suppliers)
3. คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries)
4. สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์
(Publics)
สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค (Macro External Environment) คือ สภาพแวดล้อมที่
มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่
สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แบ่งออกได้เป็น 4 ประการ ได้แก่
1. ด้านการเมืองและกฎหมาย
2. เศรษฐกิจ
3. สังคม
4. เทคโนโลยี
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบ
ต่อการบริหารธุรกิจ
( SWOT ANALYSIS )
S (Strengths) จุดแข็ง
เป็นปัจจัยภายในที่ส ามารถควบคุมได้ตามศักยภาพของธุรกิจที่มีอยู่ จุดแข็งนี้จะก่อให้เกิดผลดีต่อ
ธุรกิจ ซึ่งส่งผลมาจากการบริหารงานภายในระหว่างผู้บริหารและบุคลากร หรืออาจมาจากความได้
เปรียบในด้านทรัพยากรทางการบริหารต่างๆ เช่น มีสถานภาพทางการเงินที่มั่นคง ที่ตั้งอยู่ใกล้ทั้งแหล่งวัตถุดิบและแหล่งจัดจำ หน่าย บุคลากรมีประสบการณ์และความสามารถสูง
ฯลฯ
W (Weaknesses) จุดอ่อน
เป็นปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาภายในธุรกิจ อันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ข้อจำกัดบาง
ประการของศักยภาพทางธุรกิจ ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลร้ายถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไข เช่น ขาดสภาพคล่อง
ทางการเงิน สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพไม่คงที่ ขาดการประสานงานที่ดีภายในองค์กร
ฯลฯ
O (Opportunities) โอกาส
เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ แต่เป็นสภาวการณ์
แวดล้อมอันส่งผลดีให้กับธุรกิจโดยบังเอิญ เช่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น นโยบายของรัฐให้การสนับสนุนธุรกิจประเภทนี้ สินค้าของคู่แข่งมีคุณภาพต่ำ ฯลฯ
T (Threats) อุปสรรค
เป็นปัจจัยภาย นอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ และเป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันเลวร้ายที่ส่งผลกระทบให้ธุรกิจเสียหาย เช่น รัฐบาลขึ้นภาษี ปัญหาสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้นเกิดภัยสงครามหรือภัยธรรมชาติ
ฯลฯ
การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix
กลยุทธ์เชิงรุก (SO
Strategy)
เป็น การใช้จุดแข็งบนโอกาสที่มี ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรุก
กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST
Strategy)
เป็นการใช้จุดแข็งป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็น จุดแข็งและ
ข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงป้องกัน
กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO
Strategy)
เป็นการขจัดจุดอ่อนโดยใช้โอกาส ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงแก้ไข
กลยุทธ์เชิงรับ (WT
Strategy)
เป็น การขจัดจุดอ่อนป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรับ
E-environment
Social Factor
สภาวะแวดล้อมทางสังคมเป็น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างทางสังคมประกอบไปด้วย ครอบครัว ชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งในแต่ละสังคมก็จะมีทัศนคติทางสังคม ค่านิยม และวัฒนธรรม ที่ แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับการเปลี่ยน แปลงทางด้านประชากร บทบาทหรือสถาน ภาพของบุคคลและระดับชนชั้นทางสังคม ภูมิศาสตร์หรือกายภาพรอบๆ ธุรกิจ สภาพ
ของ ดิน น้ำ แร่ธาตุ หรืออากาศ เช่น ภาวะโลก ร้อน ภัยธรรมชาติคลื่นยักษ์
สึนามิ (Tsunami) โรคระบาด ซึ่งธุรกิจไทยและทั่วโลกเคยเผชิญมาแล้ว คือ โรคไข้หวัดนก ในปี พ.ศ.2550 ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจอุตสาหกรรมสัตว์ปีกและการท่องเที่ยว สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza
A : H1N1) โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2552)คาดว่าเชื้อไวรัสนี้จะยังคงแพร่ระบาดรุนแรงต่อไปตลอดช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ และมีโอกาสที่จะคงอยู่ยาวนานไปจนถึงไตรมาสสุดท้ายของปี พ.ศ.2552 หากมาตรการของรัฐยังไม่สามารถหยุดยั้งการระบาดของโรคให้ชะลอลงได้
Social Factor
การระบาดของโรคจะสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจในปี 2552 อย่างน้อย 51,000 ล้านบาท หรือมีผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP ลดลง อย่างน้อยร้อยละ 0.6 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีความโน้มเอียงที่จะไปสู่การหดตัวที่อัตราร้อยละ 4.1
จากกรอบประมาณ การเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงร้อยละ 3.5-5.0 ปัจจัยต่างๆ
เหล่านี้ล้วนเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งสิ้น
Political and Legal Factor
สภาวะแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายประกอบธุรกิจของประเทศ โดย เฉพาะประเทศไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพรรคบ่อยๆ นักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจะอ่อนไหวกับปัจจัยทาง การเมือง เพราะเกี่ยวข้องกับกฎหมายและมาตรการต่างๆ เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุน กฎระเบียบที่ใช้สำหรับการค้าระหว่างประเทศ จากการสำรวจความคิดเห็นของนักธุรกิจ 400 ตัวอย่าง ในประเด็นผลกระทบต่อการทำธุรกิจ พบว่านักธุรกิจร้อยละ 17.10 มองว่าความขัดแย้งทางการเมืองเป็นปัจจัยที่ส่งผลลบเป็นอันดับแรกต่อการดำเนินธุรกิจ (เดลินิวส์, 2552) ข้อกังวลในสายตาของนักลงทุน คือ กฎ ระเบียบ นโยบายในการลงทุน มักจะเปลี่ยนแปลง
ตามรัฐบาลในสมัยนั้นๆ ถ้าการดำเนินธุรกิจขัดต่อกฎหมาย ธุรกิจย่อมจะมีปัญหาในการดำเนินงาน (สมชาย, 2552)
Economic Factor
สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ(Economic) เศรษฐกิจเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นปริมาณการจัดสรรและการใช้ทรัพยากร ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีแรงผลักดันที่สำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ ซึ่งมีปัจจัยที่จะต้องนำมาศึกษาหลายปัจจัย เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) นับ
ได้ว่าเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นการชี้นำว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไรและจะส่งผลกระทบต่ออำนาจในการบริโภคของประชากรโดยรวมในทิศทางใด ซึ่งในปี พ.ศ.2552 นี้ คาดว่า GDP ของ ประเทศ จะขยายตัวประมาณ 1.2% และในกรณีเลวร้ายอัตรา
การขยายตัวของ GDP อาจลงไปที่ 0.0% คาดว่าการบริโภคของภาคเอกชนจะขยายตัวในระดับต่ำ อยู่ที่ประมาณ 0.3-0.8% จาก 2.2% ในปี
พ.ศ. 2551 (ข่าวสด, 2552)
Economic Factor
ค่าเงินบาท ธุรกิจที่เสียประโยชน์จากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ส่งออกที่ใช้ทรัพยากรหรือวัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก แต่ในทางกลับกันการแข็งค่าของค่าเงินบาทจะมีกลุ่มธุรกิจประเภทที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์ โดยสาเหตุที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย เช่น การอ่อนค่าของเงินสกุลต่างประเทศ การไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติในประเทศไทย หรือการเพิ่มขึ้นของดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยอัตราการว่างงาน ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดปัญหาการว่างงานขึ้นในทุกประเทศ จากการรายงานของสำนักงาน สถิติแห่งชาติ
พบว่า ภาวการณ์ทำงานของประชากรไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ในช่วงเดือน มิถุนายน พ.ศ.2551 มีผู้อยู่ในกำลังแรงงานทั้งหมด 38.34 ล้านคน มีงานทำแล้ว37.84 ล้านคน และกำลังรอทำงานอีก 5 หมื่นคน จึงยังคงมีผู้ว่างงานจริงประมาณ 4.5 ล้านคน ที่บริษัทสามารถคัดเลือกเข้าทำงานได้
Economic Factor
ภาวะราคาน้ำมัน ความผันผวนของราคาน้ำมันที่ผ่านมาเป็นที่ชัดเจนว่าไม่มีใครสามารถกำหนดราคาน้ำมันล่วงหน้าได้ นับ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551
ราคาน้ำมันได้ปรับตัวขึ้นจาก 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อต้นปี
ไปแตะจุดสูงสุดที่ 145.29 ดอลลาร์ในวันที่ 13 กรกฎาคม ก่อนจะตกต่ำมาแตะจุดต่ำสุดในรอบปีที่
31.41 ดอลลาร์ในวันที่ 22 ธันวาคม ในขณะที่ช่วงไตรมาส 2 ของปี พ.ศ.2552 กลับมาอยู่ที่
60 ดอลลาร์
ปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ย เมื่อเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินอัตราดอกเบี้ยจะขยับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตของกิจการ
หรือ อุตสาหกรรมต่างๆ สูงขึ้นตามไปด้วย ในทางตรงกันข้ามหากสภาพคล่องทางการเงินมีมาก อัตราดอกเบี้ยจะลดต่ำลง ผู้คนในสังคมจะมีกำลังซื้อมากขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมขยายตัว ธุรกิจต่างๆ รวมถึงการลงทุนในหลักทรัพย์ก็จะได้รับผลดีตามไปด้วย
Technological Factor
สภาวะแวดล้อมทางเทคโนโลยี ปัจจุบันเป็นยุคความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางและความก้าวหน้าขององค์กรธุรกิจ เช่น การใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การใช้ชุดคำสั่ง (Software) เพื่อช่วยการจัดการทรัพยากรมนุษย์
และการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดระบบบัญชีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยี เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้แทนแรงงานของคน ส่งผลให้องค์กรต้องลดจำนวนพนักงานลงและต้องเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานที่เหลือ มาตรการเหล่านี้จะส่งผลกระทบไปถึงสถานที่ ห้องทำงาน ลักษณะงาน ค่าจ้าง
และสวัสดิการต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น