ประเพณีลอย
ความรู้สึกที่มีต่อประเพณีลอยกระทง
การลอยกระทง พิธีอย่างหนึ่งที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12
หลากเต็มตลิ่ง โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูปเทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์ รูปต่างๆ ที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตาม
ลำน้ำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูชาพระอุปคุตเถระที่บำเพ็ญบริกรรมคาถาในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล บางแห่งก็ลอยกระทง เพื่อบูชาเทพเจ้าความเชื่อ
ของตน บางแห่งก็เพื่อแสดงความขอบคุณพระแม่คงคาซึ่ง
เป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งขอขมาที่ได้ทิ้ง
สิ่งปฏิกูลลงไป สวนบางท้องที่ ก็จะทำเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ หรือ
เพื่อสะเดาะเคราะห์ลอยทุกข์โศกโรคภัยต่างๆและส่วนใหญ่ก็จะอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาไปด้วย
การลอยกระทง เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ
แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า ปฏิบัติกันมาแต่เมื่อไร
เพียงแต่ท้องถิ่นแต่ละแห่งก็จะมีจุดประเพณีลอยกระทง
นอกจากจะเป็นประเพณีที่มีคุณค่าในเรื่องการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ต่อผู้มีพระคุณดังที่กล่าวมาแล้ว
ประเพณีนี้ยังมีคุณระสงค์และความเชื่อในการลอยกระทง
แตกต่างกันไป เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
ก็จะเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์,เป็นบูชา รอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำเนรพุททาในอินเดียหรือต้อนรับพระพุทธเจ้าในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งไปโปรดพระพุทธมารดา
ค่าต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสานาด้วย เช่น ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน ทำให้ชุมชนด้ร่วมมือร่วมใจกันจัดงาน หรือในบางท้องที่ที่มีการทำบุญก็ถือว่ามีส่วนช่วยสืบทอดพระศาสนาและในหลายๆ แห่งก็ถือเป็นโอกาสดีในการรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแม่น้ำลำคลองไปด้วย
ทัศนคติต่อประเพณีลอยกระทง

1.) เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานทีในประเทศอินเดีย
ลอยไปกับแม่น้ำ ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุต
ทรงสามารถปราบพญามารได้
3.) การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันที่เสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรด พระพุทธมารดา
4.) การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
5.) การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์
ชั้นพรหมโลก
6.) การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุดตเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล
7.) การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์
เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ
รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ
8.) รักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้ มิให้สูญหายไปตาม
กาลเวลา
9.) ได้รู้ถึงคุณค่าของน้ำหรือแม่น้ำลำคลอง อันเป็นสิ่งจำเป็น
สำหรับการดำรงชีวิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น