วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สรุปเนื้อหา : บทที่ 5: E-commerce


 E-commerce



ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)
       คือ กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร
 

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce)
       คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้ 
 


กรอบการทำงาน (E-Commerce Framework)



การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)
   -การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
   -การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
   -การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
   -การบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service)
   -รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
   -การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่(M-Commerce : Mobile Commerce)
 
โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)
         องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
1.ระบบเครือข่าย (Network)
2.ช่องทางการติดต่อสื่อสาร(Chanel Of Communication)
3.การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
4.การรักษาความปลอดภัย (Security)
 
 การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)
       ส่วนของการสนับสนุนจะทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนส่วยของการประยุกต์ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน ที่ทำหน้าที่ค้ำจุนให้หลังคาบ้านอย่างไรก็ตามเสาบ้านก็ต้องอาศัยพื้นบาน ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป สำหรับส่วนสนับสนุนของ E-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้
 
การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)
   1.การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
   2.การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
   3.กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
   4.การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
   5.การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion
 
การจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  
The Dimensions of E-Commerce




กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
Business-to-Business (B2B)
Business-to-Customer (B2C)
Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
Customer-to-Customer (C2C)
Customer-to-Business (C2B)
Mobile Commerce

E-Commerce Business Model
แบบจำลองทางธุรกิจหมายถึง 
วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ
วิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ
ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce

ข้อดี
1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ 
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน
 


วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีลอยกระทง : ปี 2556


ประเพณีลอย
 
 

ความรู้สึกที่มีต่อประเพณีลอยกระทง


                                         การลอยกระทง พิธีอย่างหนึ่งที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12
หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 อันเป็นพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำ
หลากเต็มตลิ่ง โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูปเทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์ รูปต่างๆ ที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตาม
ลำน้ำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูชาพระอุปคุตเถระที่บำเพ็ญบริกรรมคาถาในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล บางแห่งก็ลอยกระทง เพื่อบูชาเทพเจ้าความเชื่อ
ของตน บางแห่งก็เพื่อแสดงความขอบคุณพระแม่คงคาซึ่ง
เป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งขอขมาที่ได้ทิ้ง
สิ่งปฏิกูลลงไป สวนบางท้องที่ ก็จะทำเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ หรือ
เพื่อสะเดาะเคราะห์ลอยทุกข์โศกโรคภัยต่างๆและส่วนใหญ่ก็จะอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาไปด้วย 
 
 


การลอยกระทง เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ
แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า ปฏิบัติกันมาแต่เมื่อไร
เพียงแต่ท้องถิ่นแต่ละแห่งก็จะมีจุดประเพณีลอยกระทง
นอกจากจะเป็นประเพณีที่มีคุณค่าในเรื่องการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ต่อผู้มีพระคุณดังที่กล่าวมาแล้ว
ประเพณีนี้ยังมีคุณระสงค์และความเชื่อในการลอยกระทง
แตกต่างกันไป เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
ก็จะเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์,เป็นบูชา   รอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำเนรพุททาในอินเดียหรือต้อนรับพระพุทธเจ้าในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งไปโปรดพระพุทธมารดา
 
 
 
 
 
 
 

ค่าต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสานาด้วย เช่น ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน ทำให้ชุมชนด้ร่วมมือร่วมใจกันจัดงาน หรือในบางท้องที่ที่มีการทำบุญก็ถือว่ามีส่วนช่วยสืบทอดพระศาสนาและในหลายๆ แห่งก็ถือเป็นโอกาสดีในการรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแม่น้ำลำคลองไปด้วย













ทัศนคติต่อประเพณีลอยกระทง

 


 1.) เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานทีในประเทศอินเดีย
 
 
2.) เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆให้
ลอยไปกับแม่น้ำ ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุต
ทรงสามารถปราบพญามารได้  
 
 
 

3.) การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันที่เสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรด     พระพุทธมารดา


4.) การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า 
 
 
5.) การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์
ชั้นพรหมโลก 
 
 
6.) การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุดตเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล

 
 
 
 

7.) การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ 
เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ
รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ 

 8.) รักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้ มิให้สูญหายไปตาม
กาลเวลา



                                                  9.) ได้รู้ถึงคุณค่าของน้ำหรือแม่น้ำลำคลอง อันเป็นสิ่งจำเป็น
                                                  สำหรับการดำรงชีวิต



 















สรุปเนื้อหา : บทที่ 4: E-Business Strategy

E-Business Strategy


Strategy 

 คือ  การกำหนดทิศทาง และ แนวทางในการปฏิบัติ ในอนาคตขององค์กร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ได้วางไว้


E-Strategy

คือ  วิธีการที่จะทำให้กลยุทธ์ขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้โดยการนำการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งาน ทั้งการสื่อสารภายในองค์กร และ การสื่อสารภายนอกองค์กร


Business Strategy

คือ กลยุทธ์ที่จะเชื่อมให้ แบบจำลองทางธุรกิจ เป็นจริงได้ ทำยังไงให้การสร้าง มูลค่า นั้นเป็นจริงได้ แล้วทำยังไงที่จะส่ง มูลค่า นั้นให้กับลูกค้าได้ดีที่สุด และทำยังไงให้มันแตกต่าง การทำธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างธุรกิจออนไลน์ แต่เป็นการสร้างธุรกิจที่มีความแตกต่าง
อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้จะพูดถึงตัวแบบขั้นตอนกลยุทธ์หลักในการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง 4 ขั้นตอนดังนี้
1. Strategic evaluation : กลยุทธ์การประเมิน
2. Strategic objectives : กลยุทธ์การวางแผนวัตถุประสงค์
3. Strategy definition : กลยุทธ์การกำหนดนิยาม
4. Strategy implementation : กลยุทธ์การดำเนินงาน


กลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business Strategies)

กลยุทธ์ เป็นตัวกำหนดทิศทางและการดำเนินงานด้านต่างๆ ขององค์กร กลยุทธ์เป็นเสมือนกับเหตุผลและความมุ่งหมายขององค์กร ไม่เพียงแต่กลยุทธ์เท่านั้นที่สำคัญ แต่การวางแผนและการลงมือจำเป็นไม่แพ้กัน สรุปปัจจัยสำคัญของกลยุทธ์ที่สามารถนำมาใช้ได้ซึ่งก็คือ
1.  ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในตลาดขณะนี้หรือไม่
2.  กำหนดนิยามว่าจะไปถึงวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างไร
3.  กำหนดการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
4.  เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพอื่ ที่จะได้เปรียบคู่คา้ ในตลาด
5.  จัดหาแผนงานระยะยาวเพื่อพัฒนาองค์กร


องค์ประกอบที่สำคัญของกลยุทธ์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
 (E-Business Strategies)

คือ  การสร้างช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ให้กับองค์กร กลยุทธ์ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนหรือเหมาะสม หากปราศจากการกำหนดเป้าหมาย การดำเนินงานจะเป็นไปอย่างเชื่องช้าและติดขัด จำเป็นที่จะต้องกำหนดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าจะถูกไปใช้ร่วมกันกับช่องทาง อื่นๆได้อย่างไร สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ กลยุทธ์อิเล็กทรอนิกส์จะต้องทำให้องค์กรมั่นใจว่าจะได้รับความพึงพอใจจากภายในและเกิดผลประโยชน์จากการนำเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มาใช้

1.  กลยุทธ์ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ จะสำเร็จได้เมื่อมีการสร้างคุณค่าที่ต่างกันสำหรับทุก
ฝ่ายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์จะไม่เกิดขึ้นแบบเดี่ยวๆ
ดังนั้นจะต้องมีการนำ หลายๆ ช่องทางมาใช้ร่วมกัน ซึ่งการเลือกช่องทาง
อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมนั้นบางทีอาจเรียกว่า การใช้ช่องทางการค้าที่ถูกต้องสามารถสรุปได้ดังนี้
       1.  เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้อง
       2.  ใช้ช่องทางที่ถูกต้อง
       3.  ใช้ข้อความที่จะสื่ออย่างถูกต้อง
       4.  ใช้ในเวลาที่ถูกต้อง

2.  กลยุทธ์ของธุรกิจเล็กทรอนิกส์ ต้องกำหนดวิธีที่องค์กรจะได้รับคุณค่าจากการใช้
เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์


E-channel strategies

E-Channel ย่อมาจาก electronic channels คือ การสร้างช่องทางใหม่ๆ ในการกระจายสินค้า ทั้งจากลูกค้า และคู่ค้า โดยที่ช่องทางทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถกำหนดวิธีการที่ใช้ทำงานร่วมกับช่องทางอื่นๆจากหลายช่องทางของกลยุทธ์ E-Business



multi-channel e-business strategy

กลยุทธ์หลายช่องทาง e - business เป็นการกำหนดวิธีการทางการตลาดที่แตกต่าง และ ช่องทางของห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นจึงควรมีการบูรณาการ และ ทุกๆกลยุทธ์ควรจะสนับสนุนซึ่งกัน

ตัวอย่าง : multi-channel ของกลยุทธ์การเช็คอินของ AIR ASIA




Strategy process models for e-business

1.  Strategy Formulation
2.  Strategic Implementation
3.  Strategic Control and Evaluation


1. Strategy Formulation

1.  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเพื􀀗อหาโอกาสและภัยคุกคาม โดยพิจารณา ในแง่ต่างๆเช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี การต่างประเทศ ตลาด ลูกค้า คู่แข่ง ผู้สนับสนุน
วัตถุดิบ และตลาดแรงงาน ฯลฯ
2.  การวิเคราะห์สถานการณ์ภายในเพื􀀗อหาจุดแข็งและจุดอ่อน เช่น ความสามารถ ด้านการตลาด
การผลิต การเงิน สารสนเทศ กฎระเบียบ การจัดการ และ ทรัพยากรบุคคล ฯลฯ
3.  การกำหนดหรือทบทวนวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์การเพื􀀗อกำหนดให้แน่ชัดว่า
              3.1.  องค์การของเราจะมีลักษณะเช่นใด
              3.2.  มีหน้าที􀀗บริการอะไร แก่ใครบ้าง
              3.3.  โดยมีปรัชญา หรือค่านิยมหลักในการดำเนินการเช่นใด
4.  การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การในระยะของแผนกลยุทธ์
5.  การวิเคราะห์และเลือกกำหนดกลยุทธ์และแนวทางพัฒนาองค์การ


2. Strategic Implementation

1. การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน
2. การวางแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ที่ระบุกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการ
3. การปรับปรุง พัฒนาองค์การ เช่น ในด้านโครงสร้างระบบงาน ทรัพยากรบุคคล วัฒนธรรมองค์การ
และ ปัจจัยการบริการต่างๆ ในองค์การ


3. Strategic Control and Evaluation

1. การติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์
2. การติดตามสถานการณ์และเง่อื นไขต่างๆ ทีอาจเปลี่ยนแปลงไปซึ่งอาจทำให้ต้องมีการ
ปรับแผนกลยุทธ์


การจัดการกลยุทธ์








สรุปเนื้อหา : บทที่ 3: E- Environment


E- Environment




Business Environment

นักปราชญ์ชาวจีนนาม ซุนวู ได้กล่าวไว้ในตำราพิชัยฃสงครามว่ารู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้งคำกล่าวนี้จึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการกำหนดแผนกลยุทธ์เพื่อการจัดการธูรกิจ การที่จะรู้เขาได้นั้นจะต้องศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกเสียก่อน ส่วนการรู้เราก็คือ การศึกษาสภาพแวดล้อมภายในเป็นลำดับถัดมานั่นเอง การแข่งขันกันในเชิงธุรกิจผู้ที่จะชนะและสามารถครอบครองตลาดได้นั้นจึงจำ เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจทั้งภายนอกและภายในก่อนการลง

สนาม


Business Environment

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2  ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่

          1.  สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ Internal Environment คือ สภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกำหนด และ ควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน

          2. สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ External Environment คือ ภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึง ปัจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด คือ สร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย
สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค


สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค (Micro External Environment) คือ ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถ ควบคุมได้ แต่สามารถเลือก ที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความ
เหมาะสม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
          1. ตลาด หรือลูกค้า (Market)
          2. ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ (Suppliers)
          3. คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries)
          4. สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์ (Publics)


สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค (Macro External Environment) คือ สภาพแวดล้อมที่
มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่
สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แบ่งออกได้เป็นประการ ได้แก่
          1. ด้านการเมืองและกฎหมาย
          2. เศรษฐกิจ
          3. สังคม
          4. เทคโนโลยี



 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบ
ต่อการบริหารธุรกิจ
( SWOT ANALYSIS )


S (Strengths) จุดแข็ง

 เป็นปัจจัยภายในที่ส ามารถควบคุมได้ตามศักยภาพของธุรกิจที่มีอยู่ จุดแข็งนี้จะก่อให้เกิดผลดีต่อ
ธุรกิจ ซึ่งส่งผลมาจากการบริหารงานภายในระหว่างผู้บริหารและบุคลากร หรืออาจมาจากความได้
เปรียบในด้านทรัพยากรทางการบริหารต่างๆ เช่น มีสถานภาพทางการเงินที่มั่นคง ที่ตั้งอยู่ใกล้ทั้งแหล่งวัตถุดิบและแหล่งจัดจำ หน่าย บุคลากรมีประสบการณ์และความสามารถสูง ฯลฯ


W (Weaknesses)  จุดอ่อน

เป็นปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาภายในธุรกิจ อันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ข้อจำกัดบาง
ประการของศักยภาพทางธุรกิจ ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลร้ายถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไข เช่น ขาดสภาพคล่อง
ทางการเงิน สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพไม่คงที่ ขาดการประสานงานที่ดีภายในองค์กร ฯลฯ


O (Opportunities)  โอกาส

เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ แต่เป็นสภาวการณ์
แวดล้อมอันส่งผลดีให้กับธุรกิจโดยบังเอิญ เช่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น นโยบายของรัฐให้การสนับสนุนธุรกิจประเภทนี้ สินค้าของคู่แข่งมีคุณภาพต่ำ ฯลฯ


T (Threats)  อุปสรรค

เป็นปัจจัยภาย นอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ และเป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันเลวร้ายที่ส่งผลกระทบให้ธุรกิจเสียหาย เช่น รัฐบาลขึ้นภาษี ปัญหาสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้นเกิดภัยสงครามหรือภัยธรรมชาติ ฯลฯ




การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix




กลยุทธ์เชิงรุก  (SO Strategy)

เป็น การใช้จุดแข็งบนโอกาสที่มี ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรุก


กลยุทธ์เชิงป้องกัน  (ST Strategy)

เป็นการใช้จุดแข็งป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็น จุดแข็งและ
ข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงป้องกัน


กลยุทธ์เชิงแก้ไข  (WO Strategy)

เป็นการขจัดจุดอ่อนโดยใช้โอกาส ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงแก้ไข


กลยุทธ์เชิงรับ  (WT Strategy)

เป็น การขจัดจุดอ่อนป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรับ




E-environment




Social Factor

สภาวะแวดล้อมทางสังคมเป็น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างทางสังคมประกอบไปด้วย ครอบครัว ชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งในแต่ละสังคมก็จะมีทัศนคติทางสังคม ค่านิยม และวัฒนธรรม ที่ แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับการเปลี่ยน แปลงทางด้านประชากร บทบาทหรือสถาน ภาพของบุคคลและระดับชนชั้นทางสังคม ภูมิศาสตร์หรือกายภาพรอบๆ ธุรกิจ สภาพ ของ ดิน น้ำ แร่ธาตุ หรืออากาศ เช่น ภาวะโลก ร้อน ภัยธรรมชาติคลื่นยักษ์
สึนามิ (Tsunami) โรคระบาด ซึ่งธุรกิจไทยและทั่วโลกเคยเผชิญมาแล้ว คือ โรคไข้หวัดนก ในปี พ..2550 ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจอุตสาหกรรมสัตว์ปีกและการท่องเที่ยว สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A : H1N1) โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2552)คาดว่าเชื้อไวรัสนี้จะยังคงแพร่ระบาดรุนแรงต่อไปตลอดช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ และมีโอกาสที่จะคงอยู่ยาวนานไปจนถึงไตรมาสสุดท้ายของปี พ..2552 หากมาตรการของรัฐยังไม่สามารถหยุดยั้งการระบาดของโรคให้ชะลอลงได้


Social Factor

การระบาดของโรคจะสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจในปี 2552 อย่างน้อย 51,000 ล้านบาท หรือมีผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP ลดลง อย่างน้อยร้อยละ 0.6 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีความโน้มเอียงที่จะไปสู่การหดตัวที่อัตราร้อยละ 4.1 จากกรอบประมาณ การเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงร้อยละ 3.5-5.0 ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งสิ้น


Political and Legal Factor

สภาวะแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายประกอบธุรกิจของประเทศ โดย เฉพาะประเทศไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบผสมผสานพรรคบ่อยๆ นักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจะอ่อนไหวกับปัจจัยทาง การเมือง เพราะเกี่ยวข้องกับกฎหมายและมาตรการต่างๆ เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุน กฎระเบียบที่ใช้สำหรับการค้าระหว่างประเทศ จากการสำรวจความคิดเห็นของนักธุรกิจ 400 ตัวอย่าง ในประเด็นผลกระทบต่อการทำธุรกิจ พบว่านักธุรกิจร้อยละ 17.10 มองว่าความขัดแย้งทางการเมืองเป็นปัจจัยที่ส่งผลลบเป็นอันดับแรกต่อการดำเนินธุรกิจ (เดลินิวส์, 2552) ข้อกังวลในสายตาของนักลงทุน คือ กฎ ระเบียบ นโยบายในการลงทุน มักจะเปลี่ยนแปลง
ตามรัฐบาลในสมัยนั้นๆ ถ้าการดำเนินธุรกิจขัดต่อกฎหมาย ธุรกิจย่อมจะมีปัญหาในการดำเนินงาน (สมชาย, 2552)


Economic Factor

สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ(Economic) เศรษฐกิจเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นปริมาณการจัดสรรและการใช้ทรัพยากร ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีแรงผลักดันที่สำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ ซึ่งมีปัจจัยที่จะต้องนำมาศึกษาหลายปัจจัย เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) นับ
ได้ว่าเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นการชี้นำว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไรและจะส่งผลกระทบต่ออำนาจในการบริโภคของประชากรโดยรวมในทิศทางใด ซึ่งในปี พ..2552 นี้ คาดว่า GDP ของ ประเทศ จะขยายตัวประมาณ 1.2% และในกรณีเลวร้ายอัตรา
การขยายตัวของ GDP อาจลงไปที่ 0.0% คาดว่าการบริโภคของภาคเอกชนจะขยายตัวในระดับต่ำ อยู่ที่ประมาณ 0.3-0.8% จาก 2.2% ในปี พ.. 2551 (ข่าวสด, 2552)


Economic Factor

ค่าเงินบาท ธุรกิจที่เสียประโยชน์จากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ส่งออกที่ใช้ทรัพยากรหรือวัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก แต่ในทางกลับกันการแข็งค่าของค่าเงินบาทจะมีกลุ่มธุรกิจประเภทที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์ โดยสาเหตุที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย เช่น การอ่อนค่าของเงินสกุลต่างประเทศ การไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติในประเทศไทย หรือการเพิ่มขึ้นของดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยอัตราการว่างงาน ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดปัญหาการว่างงานขึ้นในทุกประเทศ จากการรายงานของสำนักงาน สถิติแห่งชาติ พบว่า ภาวการณ์ทำงานของประชากรไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ในช่วงเดือน มิถุนายน พ..2551 มีผู้อยู่ในกำลังแรงงานทั้งหมด 38.34 ล้านคน มีงานทำแล้ว37.84 ล้านคน และกำลังรอทำงานอีก 5 หมื่นคน จึงยังคงมีผู้ว่างงานจริงประมาณ 4.5 ล้านคน ที่บริษัทสามารถคัดเลือกเข้าทำงานได้


Economic Factor

ภาวะราคาน้ำมัน ความผันผวนของราคาน้ำมันที่ผ่านมาเป็นที่ชัดเจนว่าไม่มีใครสามารถกำหนดราคาน้ำมันล่วงหน้าได้ นับ ตั้งแต่ปี ..2551 ราคาน้ำมันได้ปรับตัวขึ้นจาก 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อต้นปี ไปแตะจุดสูงสุดที่ 145.29 ดอลลาร์ในวันที่ 13 กรกฎาคม ก่อนจะตกต่ำมาแตะจุดต่ำสุดในรอบปีที่ 31.41 ดอลลาร์ในวันที่ 22 ธันวาคม ในขณะที่ช่วงไตรมาส 2 ของปี พ..2552 กลับมาอยู่ที่ 60 ดอลลาร์
ปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ย เมื่อเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินอัตราดอกเบี้ยจะขยับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตของกิจการ หรือ อุตสาหกรรมต่างๆ สูงขึ้นตามไปด้วย ในทางตรงกันข้ามหากสภาพคล่องทางการเงินมีมาก อัตราดอกเบี้ยจะลดต่ำลง ผู้คนในสังคมจะมีกำลังซื้อมากขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมขยายตัว ธุรกิจต่างๆ รวมถึงการลงทุนในหลักทรัพย์ก็จะได้รับผลดีตามไปด้วย


Technological Factor

สภาวะแวดล้อมทางเทคโนโลยี ปัจจุบันเป็นยุคความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางและความก้าวหน้าขององค์กรธุรกิจ เช่น การใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การใช้ชุดคำสั่ง (Software) เพื่อช่วยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดระบบบัญชีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การนำเทคโนโลยี เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้แทนแรงงานของคน ส่งผลให้องค์กรต้องลดจำนวนพนักงานลงและต้องเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานที่เหลือ มาตรการเหล่านี้จะส่งผลกระทบไปถึงสถานที่ ห้องทำงาน ลักษณะงาน ค่าจ้าง และสวัสดิการต่างๆ