วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สรุปบทที่ 9 : E - Government

E - Government



ประวัติความเป็นมา
             การก้าวไปสู่ e-government จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงานและการให้บริการของภาครัฐเพื่อให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม จะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญกับการก้าวไปสู่การเป็นe-government และมีการประกาศนโยบายในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการตัวอย่างเช่น สหราชอาณาจักร ประกาศว่าภายในปี ค.ศ. 2005 ประชากรทุกคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ไม่ว่าจะเข้าจากที่บ้าน หรือจุดให้บริการในชุมชน ก็ตาม รวมทั้งการบริการของภาครัฐทุกอย่างจะทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในขณะที่สิงคโปร์เองก็ประกาศว่าภายในปี ค.ศ. 2001 counter services ของรัฐ 100% จะเป็นการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ออสเตรเลียระบุว่ารัฐจะให้บริการที่เหมาะสมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อันหมายถึงผ่านทางอินเทอร์เน็ตภายในปี ค.ศ. 2001 ส่วนแคนาดามีเป้าหมายว่าบริการของรัฐทุกอย่างจะเป็นแบบ online ภายในปี ค.ศ.2004 โดยมีบริการหลักบางอย่างสามารถให้บริการได้ก่อนในปี ค.ศ. 2000 สำหรับเนเธอร์แลนด์มีเป้าหมายว่า 20%ของบริการของรัฐสามารถให้ online ได้ในปี ค.ศ. 2002 สหรัฐอเมริกาซึ่งถือเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเองก็กำหนดเป้าหมายไว้ว่าจะให้บริการต่างๆ และบริการด้านข้อมูลของภาครัฐผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในปี ค.ศ. 2003 แต่ประเทศซึ่งอาจเป็นแชมป์ e-governmentเร็วที่สุด เนื่องจากกำหนดไว้ว่าในช่วงสิ้นปี ค.ศ. 2000 นี้ ประชาชนจะสามารถเข้าถึงบริการและเอกสารของรัฐได้ทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ ประเทศฝรั่งเศส
             สำหรับประเทศไทย ในเรื่องการบริหารและการบริการของรัฐแก่ประชาชนมีการกล่าวถึง ตั้งแต่ในกฎหมายสูงสุดของประเทศ คือ รัฐธรรมนูญฯ ในมาตรา 78 หรือแผนสภาพัฒน์ฯ ฉบับที่ 8 ที่กล่าวถึงการนำไอทีมาใช้เพื่อเชื่อมโยง ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับภาคเอกชน เพื่อการบริหารและการบริการที่มีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ในแผนไอทีแห่งชาติเองก็ระบุว่าหน่วยงานของรัฐต้องลงทุนให้พร้อมด้วยไอที และบุคลากรที่มีศักยภาพในการใช้ไอที ในแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐก็ได้กำหนดกิจกรรมหนึ่งที่ทุกส่วนราชการต้องดำเนินการไว้ในแผนหลักเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารของภาครัฐว่า การพัฒนาให้มีระบบสารสนเทศของหน่วยงานกลางในภาครัฐ ตลอดจนนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภาครัฐและการให้บริการแก่ประชาชน จะเห็นว่าในระดับนโยบายนั้นมีการให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาโดยตลอด

ความหมาย e-government
         e-government หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการคือ
                  1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
                  2.ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
                  3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
                  4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม

         e-government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และเครือข่ายเพื่อเพิ่่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐ และปรับปรุงการ บริการแก่ประชาชน และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีจะนำมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของการเข้าถึง และการให้บริการของรัฐโดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ ประชาชน ภาคธุรกิจและข้าราชการเอง ผลพลอยได้ที่สำคัญที่เราจะได้รับคือความโปร่งใสที่ดีขึ้นอันเนื่องมากจากการเปิดเผยข้อมูลที่หวังว่าจะนำไปสู่การลดคอรัปชั่น หากเทียบกับ e-commerce แล้ว egovernment คือ G-to-G1 Transaction และมีลักษณะเป็น intranet มีระบบความปลอดภัย เพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานของรัฐ ในขณะที่ e-services เทียบได้กับ B-to-G2 และ G-to-C3 Transaction ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการให้บริการ โดยภาคธุรกิจกับประชาชนคือผู้รับบริการ

         e-government กับ e-services มีความเกี่ยวพันกันมาก กล่าวได้ว่า e-government เป็นพื้นฐานของ e-services เพราะการให้บริการของรัฐต่อประชาชนนั้น มีความจำเป็นที่จะต้อง มีเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองที่มีความปลอดภัย และทำให้องค์กร สามารถแลกเปลี่ยนสารสนเทศกันได้ การพัฒนาระบบสารสนเทศและการพัฒนาทักษะ
รวมทั้งองค์ความรู้ของหน่วยงานเป็นพื้นฐานสำคัญของการให้บริการของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการที่คาบเกี่ยวกันหลายหน่วยงานแต่เป็น one-stop service เป้าหมายปลายทางของ e-government ไม่ใช่การดำเนินการเพื่อรัฐ แต่หากผลประโยชน์สูงสุดของการเป็น e-government คือประชาชนและภาคธุรกิจ e-government เป็นโอกาสที่จะขยายศักยภาพของการให้บริการแก่ประชาชน ไม่เฉพาะภายในประเทศ แต่รวมทั้งประชาชนที่อยู่ต่างประเทศด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงานของภาครัฐนั่นเอง กล่าวอีกนัยหนึ่ง e-government เป็นการนำกลวิธีของ ecommerce มาใช้ในการทำธุรกิจของภาครัฐ เพื่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการ ส่งผลให้เกิดการ บริการแก่ประชาชนที่ดีขึ้นการดำเนินธุรกิจกับภาคเอกชนดีขึ้น และทำให้มีการใช้ข้อมูลของภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นด้วย


         หลัก e-Government จะเป็นแบบ G2G G2B และ G2C ระบบต้องมีความมั่นคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐประชาชนอุ่นใจในการรับบริการและชำระเงินค่าบริการ ธุรกิจก็สามารถดำเนินการค้าขายกับหน่วยงานของรัฐด้วยความราบรื่น อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญในการให้บริการตามแนวทางรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

B2C
ภาคธุรกิจสู่ผู้บริโภค (Business to Consumer)
B2B
ภาคธุรกิจสู่ภาคธุรกิจ (Business to Business)
G2G
ภาครัฐสู่ภาครัฐด้วยกัน (Government to Government)
G2C
ภาครัฐสู่ประชาชน (Government to Citizen)
G2B
ภาครัฐสู่ภาคธุรกิจ (Government to Business)
G2E
ภาครัฐสู่ภาคข้าราชการและพนักงานของรัฐ (Government to Employee)

1. รัฐ กับ ประชาชน (G2C)
              เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชำระภาษี การจดทะเบียนการจ่ายค่าปรับ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียงและการค้นหาข้อมูลของรัฐที่ดำเนินการให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์ เป็นต้นโดยที่การดำเนินการต่าง ๆ นั้นจะต้องเป็นการทำงานแบบ Online และ Real Time มีการรับรองและการโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์

2. รัฐ กับ เอกชน (G2B)
              เป็นการให้บริการขภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น การจดทะเบียนทางการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุนการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออกและนำเข้า การชำระภาษี และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก

3. รัฐ กับ รัฐ (G2G)
               เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ (Economy of Speed) ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกันนอกจากนั้นยังเป็นการบูรณาการการให้บริการระหว่าง
หน่วยงานภาครัฐโดยการใช้การเชื่อมต่อโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกัน (Collaboration)และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน (Government Data Exchan)ทั้งนี้รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างชาติ และองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่างๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงาน Back Office ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบัญชีและการเงินระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี จะต้องมีกระบวนการในการลดแรงต่อต้านของบุคลากรที่คุ้นเคยกับการทำงานในระบบเดิม

4. รัฐ กับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E)
               เป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐ (Employee)กับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิต เช่น ระบบสวัสดิการระบบที่ปรึกษาทางกฎหมาย และข้อบังคับในการปฏิบัติราชการ ระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ

ตัวอย่างโครงการ








โครงสร้างพื้นฐานไอที เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลนำเข้า-ส่งออก ในปัจจุบัน กำลังปรับเปลี่ยนจากระบบ EDI เป็นระบบebXML/XML














สรุปเนื้อหา : บทที่ 8: E - Markating




E - Markating



            E-Marketing ย่อมาจากคำว่า Electronic Marketing หรือเรียกว่า การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัยและสะดวกต่อการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือพีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง


วัตถุประสงค์ของโครงสร้างการทำ  E-marketing Plan เพื่อ
1.       Cost reduction and value chain efficiencies
2.       Revenue generation
3.       Channel partnership.
4.       Communications and branding


Marketing defined
       Marketing is the management process responsible for identifying, anticipating and satisfying customer requirements profitably.


E-marketing planning
การวางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดของกลยุทธ์การทำe – business
the SOSTAC™ framework developed by Paul Smith (1999) ซี่งสามารถสรุปขั้นตอนที่เกี่ยวข้องได้ ขั้นตอนด้วยกัน คือ
        1.  Situation – where are we now?
2.  Objectives – where do we want to be?
3.  Strategy – how do we get there?
4.  Tactics – how exactly do we get there?
5.   Action – what is our plan?
6.  Control – did we get there?


ข้อดีของ E-Marketing เมื่อเทียบกับสื่ออื่น
1.       เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากกว่า 800 ล้านคน 225 ประเทศ 104 ภาษา
2.       สามารถวัดผลได้แม่นยำกว่าสื่ออื่น
3.       ราคาลงโฆษณาถูกกว่าเมื่อเทียบกับสื่ออื่น
4.       จำนวนผู้ใช้สื่อนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
5.       คุณภาพของผู้ใช้มีมากกว่าสื่ออื่น


เปรียบเทียบกันระหว่าง 2 โมเดล


Click & Mortar


Click & Click

ข้อดี
1.      มีความเชี่ยวชาญ
2.      มีลูกค้าอยู่แล้ว
3.      น่าเชื่อถือ
4.      รองรับลูกค้าได้ online และ Offline


ข้อดี
1.        ต้นทุนต่ำ ใช้คนน้อย (คนเดียวก็ทำได้)
2.        เริ่มต้นได้ง่าย
3.        เปิดกว้างมากกว่า
4.        ไม่ต้องมีความชำนาญมาก ก็เริ่มทำได้

ข้อเสีย
1.      ต้นทุนสูง ใช้คนมาก
2.      ใช้เวลาในการจัดทำ
3.      การทำงานต้องยึดติดกับบริษัท

ข้อเสีย
1.        ขาดความชำนาญ
2.        สร้างฐานลูกค้าใหม่
3.        รองรับลูกค้า Online ได้อย่างเดียว
4.        ความน่าเชื่อถือน้อย


การเริ่มต้นการตลาดออนไลน์
1.กำหนดเป้าหมาย
8 เป้าหมายในการทำเว็บ คุณทำเว็บไปทำไม??
-          ทำให้คนอื่นๆ รู้จักคุณองค์กรของคุณ
-          ขายสินค้าของคุณ
-          สำหรับช่วยเหลือและบริการหลังการขายกับลูกค้า
-          ให้ข้อมูลสินค้าและไว้สำหรับเป็นช่องทางในการติดต่อ
-          เชื่อมโยงระหว่างองค์กร เครือข่าย
-          เห็นเค้ามีกัน เลยอยากมีบ้าง..!
8 กลุ่มเป้าหมายของคนที่จะเข้าเว็บคุณคือใคร ?
-          อายุเพศการศึกษาฐานเงินเดือน, Location, กลุ่มธุรกิจความชอบ ฯลฯ
-          จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (SWOT Analysis)
-          แหล่งรายได้ของเว็บไซต์
-          จุดเด่น หรือจุดแตกต่าง (Differentiate) ของคุณกับเว็บอื่นๆ
2. ศึกษาคู่แข่ง
8 คู่แข่งคุณคือใคร?
8 ศึกษารูปแบบการทำเว็บธุรกิจของคู่แข่ง
8 จุดเด่น-จุดอ่อนอะไรบ้าง
8 ศึกษาเคาเตอร์ (Stat) ของคู่แข่ง
8 เข้าร่วมเว็บบอร์ดของคู่แข่ง (ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้ ชอบไม่ชอบอะไร)
8 บอกรับจดหมายสมาชิกของคู่แข่ง
8 ขอข้อมูลที่เกียวข้องกับเว็บไซต์ (ราคาโฆษณาสถิติ)
8 เข้าชมเว็บคู่แข่งเป็นประจำ
3. สร้างพันธมิตร
8 เว็บคู่แข่ง
8 บุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในแวดวงธุรกิจเดียวกัน
8 เว็บอื่นๆ ที่สามารถร่วมมือกันได้
8 กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
4. ติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น
8 เคาเตอร์วัดจำนวนคนเข้า
8 ตัวเก็บสถิติ (Stat)
8 Free Stat Service (www.Truehit.net, www.nedstat.com)
8 เว็บบอร์ด
8 Guest Book
8 ตัวเก็บนับจำนวนคนในเว็บไซต์ขณะนั้นOption
8 ห้าม Save ภาพในหน้าเว็บนั้น
5. ดูแลและปรับปรุงเว็บไซต์อยู่เสมอ
8 ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้คู่แข่งตลาดสภาพแวดล้อมเทคโนโลยี
8 เปิดรับความคิดเห็นจากผู้ใช้
8 ปรับปรุงเว็บไซต์อยู่เสมอ
8 วางแผน ปรับปรุง โฆษณา ประเมินผล

เว็บเล็กๆเริ่มต้นอย่างไร?
-          โฟกัสกล่มุ ลูกค้าที่ชัดเจน เว็บเล็กแต่มีคุณภาพ (Niche Market) ถ้าเหมือนต้องทำให้ ดีกว่า
-          สร้างความแตกต่างให้ชัดเจน (Differentiate)
-          เริ่มต้นทำเป็นเจ้าแรก (First Mover) Move Fast
-          สร้างสังคมให้เกิดขึ้น (Community)
-          สร้างบริการต่างๆ ให้ตรงใจกับลูกค้า (Stickiness)
-          PR ตรงกล่มุเป้าหมายที่ชัดเจน (Offline+Online)

ก่อนการประชาสัมพันธ์
-          เช็กว่าตัวเองพร้อมแล้วรึยังข้อมูล?
-          สร้างความคึกคัก(ข้อมูล) ของเว็บด้วยต้วเองก่อน
-          เว็บเรามีจุดเด่นไหม มีอะไรที่จะทำให้ลูกค้ากลับมาอีก?
-          หากรู้จักดาราหรือคนดัง ดึงมาช่วยเลย.!
-          สร้าง logo และ สโลแกนที่น่าสนใจและจดจำ (ใช้ทุกๆหน้า)


การสร้างเอกลักษณ์ของเว็บไซต์ (Web Identity)
            การสร้างให้คนรู้จักและจดจำ Brand ของเว็บไซต์คุณก็เหมือนกับสร้างความคุ้นเคยของลูกค้าที่มีต่อเว็บไซต์ของคุณ




  1.           การวางคอนเซพท์ของตัวเว็บไซต์
  2.           สไตล์การเขียนที่เป็นเอกลักษณ์
  3.           มีความสอดคล้องกับแบรนด์สินค้าหรือบริการหลักเว็บไซต์ของ
  4.           ลักษณะการออกแบบเว็บไซต์

-          การใช้สีสัน
-          การวางรูปแบบบหรือเลย์เอาท์
-          การใช้โลโก้ที่มีความโดดเด่น


การประชาสัมพันธ์เว็บไซต์


วีธีการออนไลน์ (Online)
วิธีการออฟไลน์ (Offline)
-  Banner Advertising
-  Search Engine Advertising
-  E-mail Advertising
-  Viral Marketing
-  E-Marketplace Marketing
-  วิธีอื่นๆ..
– แบบฟรี.!
– แบบเสียเงิน




            วิธีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์-Online
-          จัดทำโฆษณาแบนเนอร์ โฆษณาตามเว็บไซต์กลุ่มเป้าหมาย
-          แลกลิงค์กับเว็บอื่นๆ (เขียนเมล์ไปขอ) – Barter Banner
-          ทำ Code สำหรับแจก-แลก Banner (ทำ Banner หลายๆ ขนาด)
-          โฆษณารุปแบบไหม่ เข้าถึงกลุ่มผู้รับ ได้อย่างดี



        

11 วิธีการออกแบบแบนเนอร์ให้ได้ผล
  1. ขนาดยิ่งใหญ่ยิ่ง มีโอกาสการคลิกเยอะ
  2. เปลี่ยนแบนเนอร์บ่อย (1 แคมเปญ ควรมีอย่างน้อยแบนเนอร์ 2 แบบ)
  3. ใช้คำพดู ที่จูงใจ ดึงดูดในแบนเนอร์ เช่น กดที่นี้” “โอกาสสุดท้าย
  4. ฟรี.! ยังเป็นคำที่มีอนุภาคมากที่สุด
  5. การใช้ภาพเคลื่อนไหว จะมีคนคลิกมากว่า โฆษณาภาพนิ่ง (เคลื่อนไหวอย่างเร็ว)
  6. การใช้เซ็กซ์ ช่วย.. ยังไงคนก็สนใจ
  7. ใช้สีสันโดดเด่น มีคนสนใจมากกว่า สีดำๆ ถมึนๆ
  8. การออกแบบที่ดี
  9. ขนาดไฟล์ของแบนเนอร์ไม่ควรใหญ่จนเกินไป
  10. ทำลิงค์ไปหน้าที่ต้องการหลังจากกด แบนเนอร์
  11. ทดสอบแบนเนอร์ก่อน ขึ้นจริงๆ




Search Engine Marketing


รูปแบบของ Search Engine Marketing

1.       Natural Search Engine Optimization  (SEO)
  •  เป็นการปรับแต่ง Key Word ให้ตรงกับเว็บไซต์
  • เมื่อมีการค้นหาผ่าน Search Engine ชื่อเว็บจะแสดงอยู่ในหน้ารายการของเว็บที่ค้นเจอ


ข้อดี
ข้อเสีย
-  ฟรี Traffic
-  ผู้ชมจะคลิกในส่วนนี้สูงถึง 60-70%
-  ใช้เวลานานในการขึ้นอันดับ
-  สามารถเลือกจำนวน keyword ได้จำกัดแค่
     2-5 คำต่อเนื้อหาหนึ่งหน้าของเว็บเพจ
-  ไม่สามารถรักษาสถานะของอันดับได้แน่นอน
-  ไม่สามารถวัดค่า ROI ที่แน่นอนใช้เวลานานกว่า
     จะรู้ผลของแต่ละคำ


2.       Paid Search Advertising (Pay Per Click Advertising)

                เป็นการโฆษณาแบบ จ่ายเงินเพื่อทำให้เว็บของคุณ แสดงเมื่อมีการค้นหาใน Key Word ที่คุณกำหนดไว้



ข้อดี
ข้อเสีย
-  พร้อมใช้ในเวลาไม่ถึง 15 นาที
-  แม้ว่า Search Engine จะเปลี่ยนแปลงการ 
    จัดใหม่ อันดับของคุณจะคงที่อยู่เสมอ
-  สามารถเลือกจำนวน keyword ได้ไม่จำกัด
-  ควบคุมค่าใช้จ่าย และสามารถวัดค่า ROI
    ได้แม่นยำและใช้เวลาไม่นาน
-  ต้องเสียเงินทุกครั้งเมื่อมีคนคลิกAd
-  ต้องใช้ทักษะที่ค่อนข้างสูงในการบริหาร Ad


E-Mail Marketing การตลาดผ่านอีเมล์
  • สร้าง Mail Marketing ของตัวเอง
  • ไปยืมรายชื่อคนอื่นๆส่ง BlanketMail.com, Briefme.com, Colonize.com
  • MailCreations.com, TargetMails.com
  • ยิงมั่ว หรือ SPAM
  • ไปดูด Email จากแหล่งต่าง website, search engines, whois database

วิธีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์

วิธีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์-Online
วิธีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์-Offline
1.       ส่ง MSN, ICQ หาเพื่อนๆ แล้วให้ส่งต่อ
2.       โปรโมตธุรกิจบนเว็บบอร์ดหรือCommunity ต่างๆ
3.       Raid Marketing (การตลาดแบบจู่โจม)
-      ใช้คนเป็นจำนวนมากในการเข้าไปสร้างกระแส” ตามแหล่งต่างๆ ที่มีคนเยอะ
-      chat rooms, forums, discussion groups etc around the world
-      ใช้ความเป็น ส่วนตัว” เข้าไปสร้างกระแสสังคมใน Virtual Community
4.       ทำ Signature ใน E-Mail (Out-Look, Hotmail)
-      ทำทุกคนในบริษัท
-      ใส่ข่าวสารหรือโฆษณาลงไปก็ได้
5.       ลงทะเบียนใน Web Directory, Search Engine
6.       ไปเขียนบทความที่อื่นๆ แล้วทำ link กลับมา
7.       มีบริการทดลองใช้ฟรี หรือ มีการรับรองผล
8.       แจ้งผู้เข้าเยี่ยมชมเมื่อ เว็บปรับปรุงใหม่
9.       ให้ดาวน์โหลด ฟรี.!
10.   ไปลงชื่อใน guest book ของเว็บอื่นๆ
11.   สร้างสิสันในเทศกาลต่างๆ ในเว็บไซต์
1.       แบบฟรี
-     นำ URL ไปติดไว้ทุกที่ที่ติดได้ นามบัตร,หัว-ซองจดหมายที่อยู่บริษัท
-     ติดสติกเกอร์หลังรถตัวเองเพื่อนญาติพี่น้องคนรู้จักและ ไม่รู้จัก
-     คูปองส่วนลดพิเศษ
-     ให้ผลงานคุณกับคนอื่นๆ ฟรี.! (เขียนบทความการ์ตูนภาพต่างๆ)
-     ร่วมมือกับพันธมิตร (Partner)
-     เข้าสังคมคนทำเว็บ หาเพื่อน (สมาคมผู้ ดูแลเว็บไทยwww.webmaster.or.th)

2.       แบบเสียเงิน

รูปแบบรายได้จากการทำเว็บไซต์
1.       ขายโฆษณาออนไลน์
  • ตัวอย่างโฆษณา Banner แบบต่างๆ





  • การแนะนำสินค้า (Advertorial)


  •      การทำโพล หรือ แบบสำรวจออนไลน์

                               ใช้ฐานลูกค้าของเว็บไซต์นั้นๆ เป็นผู้ทำแบบสำรวจผ่านเว็บไซต์
                                         ข้อดี
                                  -     ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา รวดเร็ว รู้ผลได้ทันที สะดวก เลือกกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน
                                  -     การได้ข้อมูลมาอย่างสะดวกและรวดเร็ว การวิเคราะห็ข้อมูลอย่างสะดวกรวดเร็ว
                                  -     ต้นทุนในการทำการวิจัยประหยัด ข้อมูลมีความถูกต้องมากกว่า

                                         ช่องทางการทำ
                                            -     ส่งผ่าน E-Mail
                                            -     ทำผ่านหน้าเว็บไซต์

2.       ขายสินค้าทำ E-Commerce
                การขายสินค้าผ่านหน้าเว็บ โดยคุณอาจจะมีสินค้าหรือไม่มีสินค้าก็ได้  เช่น  notebook, Application


3.       ขายบริการหรือสมาชิก
                ให้บริการเช่า แอพพิลเคชั่น (ASP) Ex. Thaimisc, TARAD.com ขายบริการที่ดีกว่า Ex. Keepalbum.com



4.       ขายข้อมูล (Content)
                  -     ค่าเข้าไปดูข้อมูลในเว็บไซต์ รูปภาพหรือข้อมูล Ex. Stock information,
                  -     จำกัดการเข้าดู Ex. Balloon Album



5.       การจัดกิจกรรมงาน


6.       การให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ
                  -     SMS, Logo-Ringtone, 1900 Ex. Sanook MobileMagic, Siam2you , Monozone.com
 

                  

                  -     Audio text - IVR (Offline)

                                       

                  -     1900 Ads Activate
                                Posting in Special Location Service (self service)
                                               

7.       การรับพัฒนาเว็บไซต์
                 ใช้ความรู้ที่มีในการรับพัฒนาเว็บไซต์ มาให้บริการ
                              -     ออกแบบเว็บ (Web Design)
                              -     เขียนโปรแกรม (Web Programming)
                              -     ดูแลเว็บ (Web Maintenance)
                              -     การตลาดออนไลน์ (Web Marketing)
                              -     ที่ปรึกษา (Consultant)
                 อาจนำทั้งหมดมาทำเป็น Package



6 Cs กับความสำเร็จของการทำเว็บ


1. C ontent (ข้อมูล)
                -        ข้อมูลใหม่สดเสมอ
                -        ข้อมูลมีความถูกต้อง
                -        อ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล

2. C ommunity (ชุมชน,สังคม) 
                     คือ การรวมตัวของกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง ทีอยู่ร่วมกันภายใต้สถานๆ หนึ่งโดยมีการพูดคุย หรือกิจกรรมร่วมกันภายในสถานทีแห่งนั้น

3. C ommerce (การค้าขาย) 
                     คือ การทำการค้าขายผ่านเว็บไซต์ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับเว็บไซต์ได้ เช่น เว็บข้อมูล (Content), เว็บโปรแกรมมิงเว็บ Community, หรือ เว็บโป๊ ก็สามารถทำ E-Commerce
4. C ustomization (การปรับให้เหมาะสม) 
                     คือ รูปแบบการให้บริการทีสามารถปรับแต่งการใช้งานให้มีความเหมาะสมกับผู้ใช้บริการภาย ในเว็บไซต์

5. C ommunication, Channel (การสื่อสารและช่องทาง) 
                     คือ ช่องทางในการสื่อสาร และติดต่อกับผู้ใช้บริการในเว็บไซต์ของคุณ จริงๆแล้วสิงทีคุณมีอยู่ในเว็บไซต์คุณคือ ข้อมูล(Content) หรือ บริการ (Service) ซึ่งเป็นเพียงแค่ ช่องทาง” ในการ เข้าถึง” ข้อมูลหรือบริการเหล่านั้น
                -        โทรศัพท์มือถือ
                -        บริการผ่าน WAP
                -        บริการข้อมูลผ่าน SMS
                -        PDA